หัวข้ออะไรของแก๊.....หลายคนอาจจะถาม วันนี้เราจะมาไขปริศนาลอดช่องกันๆๆๆๆ
เราอ่านเจอมาว่าสิ่งที่คนไทยเรียกว่าลอดช่องสิงคโปร์นั้น มันไม่มีในสิงคโปร์ อารมณ์เดียวกับขนมจีนไม่มีในจีน (เพราะมันเพี้ยนเสียงมาจากภาษามอญ – ขนมจีนเป็นอาหารมอญ จึงไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับประเทศจีนหรือคนจีน) ข้าวผัดอเมริกันที่ไม่มีในอเมริกา (เพราะคิดขึ้นโดยคนไทย) โอเค ก็เข้าใจแบบนั้นมาตลอด
ต่อมา มีข้อมูลบอกว่า ที่เรียกว่าลอดช่องสิงคโปร์ ดั้งเดิมคือเป็นร้านขายลอดช่องแบบนั้นแหละ ตัวเส้นเขียวๆ ยาวๆ น้ำกะทิใสๆ กินกับน้ำแข็งไส อยู่แถวๆ เยาวราช อยู่ใกล้กับโรงหนังสิงคโปร์ ได้รับความนิยมมาก คนก็เลยเรียกว่าลอดช่องโรงหนังสิงคโปร์ จนกลายมาเป็นลอดช่องสิงคโปร์ ซึ่งก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเทศสิงคโปร์แต่อย่างใด
แต่ว่า มันมีสิ่งที่เรียกว่าลอดช่องไทยด้วยหนิ แบบที่ตัวจะสั้นๆ คล้ายๆ ลูกน้ำยุง สีจะเขียวแบบอี๋ๆ เลย มักกินกับแตงไทย เผือก ข้าวโพด แล้วเรารู้สึกว่าลอดช่องแบบนี้มันไม่เหมือนกับลอดช่องสิงคโปร์แบบที่มาจากลอดช่องโรงหนังสิงคโปร์นะ แสดงว่าสูตรลอดช่องสิงคโปร์นี่ ต้องไม่ใช่แบบเดียวกับลอดช่องไทย (เขียวอี๋) แล้วหล่ะ
เราเคยมีประสบการณ์ทำลอดช่องไทย (เขียวอี๋) – ผู้อ่านอาจจะสงสัย มันจะเขียวอี๋ทำไมทุกครั้ง (วะ) คือ เรากลัวสับสน ถ้าบอกว่าลอดช่อง แม้จะมีคำว่าไทย บางคนจะนึกออกแต่แบบลอดช่องสิงคโปร์ ก็เลยบอกเพื่อให้ภาพมันชัดขึ้น หรือทำให้ผู้อ่านงง หรือเรางงของเราเอง ... พอเถอะ ยิ่งเขียนยิ่งเลอะเทอะ เอาเป็นว่ามันมี 2 แบบนะ ต่างกันนะ ไปดูกันว่าลอดช่องไทย ทำอย่างไร
ลอดช่องไทยสูตรชาวบ้านที่อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ที่เขียวอี๋คือทำจากใบเตย เอาใบเตยมาตำในครกไม้ใหญ่ๆ ใหญ่ยังกะครกตำข้าวประมาณนั้นเลย พอได้เป็นน้ำๆ ก็เอาไปใส่หม้อที่ตั้งไฟเพื่อผสมกับแป้ง (ซึ่งจำไม่ได้ว่าแป้งอะไร แป้งข้าวเจ้านี่แหละมั้ง คิดว่า) แล้วก็ออกแรงกวน หรือ คน จนมันเข้าเป็นเนื้อเดียว อย่างเหนียวเลยนะ เสร็จแล้วก็ยกลงเอาไปใส่กระป๋องที่มีรูที่ก้น ทำเป็นตัวลอดช่อง หยอดลงไปในน้ำเปล่าธรรมดาๆ นี่แหละ ก็เสร็จแล้วตัวลอดช่อง ส่วนกะทิก็ขูดมะพร้าวเอง คั้นเอาน้ำที่หนึ่งกับน้ำที่สอง เอาน้ำกะทิไปต้ม ใส่ใบเตยลงไปด้วยเพื่อให้มีกลิ่นหอม ตักตัวลอดช่องมา ตักน้ำกะทิราด ใส่น้ำแข็งเล็กน้อย หวานเย็นชื่นใจดี สนุกด้วยนะทำเอง รู้สึกแบบกว่าจะได้กิน เหนื่อยมากอ่ะ มะพร้าวยังปอกเอง ขูดเอง ลอดช่องก็ทำเอง เหนี่อยแบบไม่อร่อยก็ต้องอร่อยละ ไม่ใช่สิ! มันอร่อยจริงๆๆๆๆๆ เชื่อเถอะ
ลอดช่องไทยก็ได้ทำ ลอดช่องสิงคโปร์ก็เคยกิน (ในเมืองไทย) ตอนไปเที่ยวสิงคโปร์กลับไม่เจอที่ไหนขายลอดช่องสิงคโปร์ (จริงๆ อาจเป็นเพราะเราอาจจะไปไม่ถูกจุดเองก็ได้) พอครั้งนี้จะไปเที่ยวปีนัง หาข้อมูลที่พักอยู่ดีๆ ไปเจอรีวิวคนที่ไปกินลอดช่องสิงคโปร์-มาเลย์ (ก็มันขายที่มาเลเซีย จะเรียกลอดช่องสิงคโปร์ก็เลยตะหงิดๆ ใจ เรียกแบบเหมารวมไปก่อนละกันนะ) อ้าว ชุดความรู้ถูกโต้แย้งแล้ว ไหนว่าที่สิงค์โปร์ไม่มีลอดช่องสิงคโปร์ แล้วเค้าเล่าว่ามันเป็นขนมหวานของคนจีนแถบมาเลเซีย-สิงคโปร์นี่แหละ แบบนี้ต้องไปพิสูจน์
โรงแรมที่พักอยู่ใกล้ร้านลอดช่องมาก นี่พอเข้าที่พัก อาบน้ำแล้วออกมาเที่ยวเล่น ไปร้านลอดช่องเป็นอย่างแรกเลยค่ะ
ซอยทางไปร้านลอดช่องมีป้ายของ CNN-GO ด้วย โห...โด่งดังขนาดนั้นเชียว ซึ่งก็จริง คือเลี้ยวเข้าซอยไปก็เห็นกลุ่มคนยืนมุงกันอยู่ตรงจุดๆ นึง อยู่ลิบๆ แบบฉันมาถูกที่แล้วหล่ะ เดินเข้าไปจนถึงหน้าร้าน คือที่เรียกว่าร้าน แต่อย่านึกภาพแบบบ้านห้องแถว มีโต๊ะนั่ง มีแปะขายของนะ มันเป็นรถเข็น 1 คัน แค่นั้นเลยจ้า คนจะกินที่ร้านก็ยืนกิน ไม่งั้นก็สั่งแบบกลับบ้านเค้าก็ใส่ถุงให้ ก็ยืนๆ มุงๆ กินๆ ดูคนอื่นกิน ดูอาตี๋ตักลอดช่องด้วยความเร็วแสง พร้อมสั่งงานลูกน้องเป็นภาษามาเลย์ แล้วหันมารับออเดอร์จากอาอึ๊มเป็นภาษาจีน สลับไป speak English กับลูกค้าชาติอื่นๆ แล้วก็พูดจีนกับลูกน้องอีกคน โว๊ะ นาย productive มากๆๆๆๆ ข้าน้อยนับถือๆๆ
เราอ่านเจอมาว่าสิ่งที่คนไทยเรียกว่าลอดช่องสิงคโปร์นั้น มันไม่มีในสิงคโปร์ อารมณ์เดียวกับขนมจีนไม่มีในจีน (เพราะมันเพี้ยนเสียงมาจากภาษามอญ – ขนมจีนเป็นอาหารมอญ จึงไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับประเทศจีนหรือคนจีน) ข้าวผัดอเมริกันที่ไม่มีในอเมริกา (เพราะคิดขึ้นโดยคนไทย) โอเค ก็เข้าใจแบบนั้นมาตลอด
ต่อมา มีข้อมูลบอกว่า ที่เรียกว่าลอดช่องสิงคโปร์ ดั้งเดิมคือเป็นร้านขายลอดช่องแบบนั้นแหละ ตัวเส้นเขียวๆ ยาวๆ น้ำกะทิใสๆ กินกับน้ำแข็งไส อยู่แถวๆ เยาวราช อยู่ใกล้กับโรงหนังสิงคโปร์ ได้รับความนิยมมาก คนก็เลยเรียกว่าลอดช่องโรงหนังสิงคโปร์ จนกลายมาเป็นลอดช่องสิงคโปร์ ซึ่งก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเทศสิงคโปร์แต่อย่างใด
แต่ว่า มันมีสิ่งที่เรียกว่าลอดช่องไทยด้วยหนิ แบบที่ตัวจะสั้นๆ คล้ายๆ ลูกน้ำยุง สีจะเขียวแบบอี๋ๆ เลย มักกินกับแตงไทย เผือก ข้าวโพด แล้วเรารู้สึกว่าลอดช่องแบบนี้มันไม่เหมือนกับลอดช่องสิงคโปร์แบบที่มาจากลอดช่องโรงหนังสิงคโปร์นะ แสดงว่าสูตรลอดช่องสิงคโปร์นี่ ต้องไม่ใช่แบบเดียวกับลอดช่องไทย (เขียวอี๋) แล้วหล่ะ
เราเคยมีประสบการณ์ทำลอดช่องไทย (เขียวอี๋) – ผู้อ่านอาจจะสงสัย มันจะเขียวอี๋ทำไมทุกครั้ง (วะ) คือ เรากลัวสับสน ถ้าบอกว่าลอดช่อง แม้จะมีคำว่าไทย บางคนจะนึกออกแต่แบบลอดช่องสิงคโปร์ ก็เลยบอกเพื่อให้ภาพมันชัดขึ้น หรือทำให้ผู้อ่านงง หรือเรางงของเราเอง ... พอเถอะ ยิ่งเขียนยิ่งเลอะเทอะ เอาเป็นว่ามันมี 2 แบบนะ ต่างกันนะ ไปดูกันว่าลอดช่องไทย ทำอย่างไร
ลอดช่องไทยสูตรชาวบ้านที่อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ที่เขียวอี๋คือทำจากใบเตย เอาใบเตยมาตำในครกไม้ใหญ่ๆ ใหญ่ยังกะครกตำข้าวประมาณนั้นเลย พอได้เป็นน้ำๆ ก็เอาไปใส่หม้อที่ตั้งไฟเพื่อผสมกับแป้ง (ซึ่งจำไม่ได้ว่าแป้งอะไร แป้งข้าวเจ้านี่แหละมั้ง คิดว่า) แล้วก็ออกแรงกวน หรือ คน จนมันเข้าเป็นเนื้อเดียว อย่างเหนียวเลยนะ เสร็จแล้วก็ยกลงเอาไปใส่กระป๋องที่มีรูที่ก้น ทำเป็นตัวลอดช่อง หยอดลงไปในน้ำเปล่าธรรมดาๆ นี่แหละ ก็เสร็จแล้วตัวลอดช่อง ส่วนกะทิก็ขูดมะพร้าวเอง คั้นเอาน้ำที่หนึ่งกับน้ำที่สอง เอาน้ำกะทิไปต้ม ใส่ใบเตยลงไปด้วยเพื่อให้มีกลิ่นหอม ตักตัวลอดช่องมา ตักน้ำกะทิราด ใส่น้ำแข็งเล็กน้อย หวานเย็นชื่นใจดี สนุกด้วยนะทำเอง รู้สึกแบบกว่าจะได้กิน เหนื่อยมากอ่ะ มะพร้าวยังปอกเอง ขูดเอง ลอดช่องก็ทำเอง เหนี่อยแบบไม่อร่อยก็ต้องอร่อยละ ไม่ใช่สิ! มันอร่อยจริงๆๆๆๆๆ เชื่อเถอะ
ลอดช่องไทยก็ได้ทำ ลอดช่องสิงคโปร์ก็เคยกิน (ในเมืองไทย) ตอนไปเที่ยวสิงคโปร์กลับไม่เจอที่ไหนขายลอดช่องสิงคโปร์ (จริงๆ อาจเป็นเพราะเราอาจจะไปไม่ถูกจุดเองก็ได้) พอครั้งนี้จะไปเที่ยวปีนัง หาข้อมูลที่พักอยู่ดีๆ ไปเจอรีวิวคนที่ไปกินลอดช่องสิงคโปร์-มาเลย์ (ก็มันขายที่มาเลเซีย จะเรียกลอดช่องสิงคโปร์ก็เลยตะหงิดๆ ใจ เรียกแบบเหมารวมไปก่อนละกันนะ) อ้าว ชุดความรู้ถูกโต้แย้งแล้ว ไหนว่าที่สิงค์โปร์ไม่มีลอดช่องสิงคโปร์ แล้วเค้าเล่าว่ามันเป็นขนมหวานของคนจีนแถบมาเลเซีย-สิงคโปร์นี่แหละ แบบนี้ต้องไปพิสูจน์
โรงแรมที่พักอยู่ใกล้ร้านลอดช่องมาก นี่พอเข้าที่พัก อาบน้ำแล้วออกมาเที่ยวเล่น ไปร้านลอดช่องเป็นอย่างแรกเลยค่ะ
ซอยทางไปร้านลอดช่องมีป้ายของ CNN-GO ด้วย โห...โด่งดังขนาดนั้นเชียว ซึ่งก็จริง คือเลี้ยวเข้าซอยไปก็เห็นกลุ่มคนยืนมุงกันอยู่ตรงจุดๆ นึง อยู่ลิบๆ แบบฉันมาถูกที่แล้วหล่ะ เดินเข้าไปจนถึงหน้าร้าน คือที่เรียกว่าร้าน แต่อย่านึกภาพแบบบ้านห้องแถว มีโต๊ะนั่ง มีแปะขายของนะ มันเป็นรถเข็น 1 คัน แค่นั้นเลยจ้า คนจะกินที่ร้านก็ยืนกิน ไม่งั้นก็สั่งแบบกลับบ้านเค้าก็ใส่ถุงให้ ก็ยืนๆ มุงๆ กินๆ ดูคนอื่นกิน ดูอาตี๋ตักลอดช่องด้วยความเร็วแสง พร้อมสั่งงานลูกน้องเป็นภาษามาเลย์ แล้วหันมารับออเดอร์จากอาอึ๊มเป็นภาษาจีน สลับไป speak English กับลูกค้าชาติอื่นๆ แล้วก็พูดจีนกับลูกน้องอีกคน โว๊ะ นาย productive มากๆๆๆๆ ข้าน้อยนับถือๆๆ
ลอดช่องที่ปีนัง ถูกเรียกว่า Chendul ลองชิมแล้วก็เออ..มันคือลอดช่องสิงคโปร์แบบที่พี่ไทยเรียกนี่เอง แสดงว่ามันเป็นขนมที่มาจากคนจีนสิ อย่างที่ขายหน้าโรงหนังสิงคโปร์ก็คงมีที่มาจากคนจีน ไม่ใช่กำเนิดขึ้นในไทยแบบแท้ๆ สิ่งที่ต่างกัน Chendul ที่นี่ นอกจากตัวลอดช่องแล้ว ยังใส่ถั่วแดงต้มหวานๆ แบบที่คล้ายๆ ถั่วแดงในขนมญี่ปุ่นแบบนั้น กับน้ำตาลสีน้ำตาลๆ แบบที่ใส่ในเฉาก๊วย ลงไปด้วย
อาหารอย่างแรกบนเกาะปีนัง Chendul – ลอดช่องสิงคโปร์ในมาเลเซีย ได้ตอบคำถามเราแล้วว่า ลอดช่องน่าจะเป็นวัฒนธรรมร่วมของผู้คนในภูมิภาคนี้ คือแต่ละที่อาจจะมีส่วนผสมที่แตกต่างกันไปตามรสนิยม แต่หลักการค่อนข้างเหมือนกัน คือเป็นขนมทำจากแป้ง ราดน้ำกะทิ ใส่น้ำแข็ง ขีดเส้นใต้ห้าเส้นสำหรับคำว่า ใส่น้ำแข็ง เราว่าการได้กินอะไรเย็นๆ หวานๆ ในยามที่อากาศร้อน น่าจะเป็นวิธีคลายร้อนที่ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จักและทำกันมาเป็นเวลานานแล้ว
สรุปได้ว่า ที่ไทยเรียกลอดช่องแบบหนึ่งว่าลอดช่องสิงคโปร์ ก็คงมีที่มาจากชื่อสถานที่นั่นแหละ เพียงแต่ว่าเจ้าขนมชนิดนี้มันมีบนเกาะปีนังด้วย เราเลยอนุมานว่า มันต้องมี Chendul (ลอดช่องสิงคโปร์) ในสิงคโปร์ บ้างสิ เพราะคนจีนในมาเลเซียน่าจะมีความใกล้ชิดกับคนจีนในสิงคโปร์มากพอสมควร พอลอง google ดูเท่านั้นแหละ ว้าว!!! มีจริงๆ ด้วย เพียงแต่บางที่เค้าสะกดว่า Cendol เท่านั้นเอง ไว้ถ้าได้ไปสิงคโปร์จะไปลองชิมลอดช่องสิงคโปร์ในสิงคโปร์ดูสักที แต่ว่าถ้าใครได้มาเที่ยวปีนัง เราก็แนะนำให้ไปหาอาตี๋ร้าน Chendul รถเข็น นะ แค่ดูๆ การทำงานเค้าก็เพลินละ
ป.ล. ร้าน Chendul ดังกล่าว ยืนยันความอร่อยได้จาก ขนาดอาบังท้องถิ่น (คนเชื้อสายมาเลย์) ยังมาต่อแถวซื้อกลับบ้านไปกินเลย ไม่ใช่ว่าดังแต่ในหมู่นักท่องเที่ยวอย่างเดียว
ป.ล.2 ร้านเค้าขายน้ำแข็งไสด้วยนะจ๊ะ เรียกว่า Ice Kachang ก็คล้ายๆ ลอดช่องนั่นแหละ แต่ดูจะมีเครื่องมากกว่า
ป.ล.3 ตอนหน้าจะพาไปถึงอินโดให้ได้ นี่แกยังไม่ได้เหินฟ้าข้ามน้ำไปเลย ติดอยู่ที่เรื่องของกิน
No comments:
Post a Comment