ตอนชั้นหนังสือเข้ามหาวิทยาลัย ก็มี ภาษาไทย 101 บังคับเรียนกันทั้งมหาวิทยาลัย และสิ่งหนึ่งที่คู่กับการเรียนภาษาไทย คือการอ่านหนังสือนอกเวลา ซึ่งก็บังคับอ่านเล่มเดียวกันทั้งมหาวิทยาลัยอีกเช่นกัน
นี่คือที่มาของหนังสือที่มีชื่อว่า 'บารมีพระแม่ป้อง ปกพื้นธรณิน'
หนังสือเล่มนี้เป็นของพี่รหัสของรูมเมทของเรา เรากับรูมเมทเลยไม่ต้องซื้อ แบ่งกันอ่านเอา (ประหยัดไปไหน) แต่อ่านแล้วเราชอบมาก กลายเป็นเราที่หยิบมาอ่านอีกบ่อยๆ พอย้ายออกจากหอ เราเลยขอมาจากรูมเมท ปัจจุบัน ชื่อของพี่รหัสคนนั้น ยังเขียนอยู่บนปกในหนังสือ ขอขอบคุณ 'พี่ต้า จ.จาน' มา
ณ ที่นี้
เป็นหนังสือที่เขียนเล่าเรื่อง สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ราชินีหนึ่งเดียวของไทยและของโลกที่สวรรคตในสนามรบ จากการเข้าช่วยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระราชสวามี) ในการรบที่พม่าโดยพระเจ้าตะเบงชเวตี้ยกทัพมาหมายตีเอากรุงศรีอยุธยา ตามประวัติศาสตร์ที่เคยเรียนมา จำได้แค่ว่า สงครามนี้พม่าแพ้ ยกทัพกลับไป แต่กลับมาใหม่โดยพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งอยุธยาแพ้ เสียกรุงครั้งที่ 1 ตกเป็นประเทศราชพม่าถึง 15 ปี ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะทรงประกาศอิสรภาพ ไม่ขึ้นกับหงสาวดีอีกต่อไป
ผู้เขียน คือ แก้วเก้า ถือว่ามีชื่อเสียงในวงการนวนิยายอยู่แล้ว แต่โครงเรื่องที่ให้ตัวเอก 2 คน ในโลกปัจจุบัน พลัดหลงไปยังอยุธยาในช่วงก่อนที่จะมีศึกพม่า เพื่อไปขัดขวางไม่ให้สมเด็จพระสุริโยทัย
เสด็จออกรบ สร้างความน่าสนใจเป็นอย่างมาก อ่านแล้วได้ความรู้ประวัติศาสตร์เพิ่มด้วย
ในเรื่องมีการเล่าถึงผู้คน บ้านเมือง วิถีชีวิตของสังคมอยุธยาตอนกลาง มีการสอดแทรกตัวละครที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เช่น พระมหานาควัดภูเขาทอง ผู้เป็นที่มาของชื่อ คลองมหานาค ซึ่งต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์เมื่อมีการสร้างมหาเจดีย์ข้างคลองมหานาค (ขุดเลียนแบบคลองมหานาคสมัยอยุธยา) ผู้คนจึงเรียกมหาเจดีย์นั้นว่า "ภูเขาทอง"
เรายังได้ความรู้เรื่องดอกสารภีและดอกลำดวนด้วย
ดอกสารภีเอามาทำแป้งสารภี เหมือนเคยได้ยินชื่อนะ เออ มันทำมาจากเกสรดอกสารภี เป็นนวัตกรรมความงามแบบโบราณๆ ดี
ส่วนดอกลำดวน เคยกินแต่ขนมกลีบดอกลำดวน เอามาร้อยเป็นสร้อยได้ด้วย
และหนังสือเล่มนี้ก็ทำเราเสียน้ำตา ไม่น่าเชื่อนะ บทความรักระหว่าง คุณพระมหามนตรีกับพัตรา มีแค่
ไม่กี่หน้ากระดาษ แต่มันชัดแจ้งแก่ใจเราได้ว่ารักแท้ไม่มีข้อแม้เรื่องระยะเวลา ประโยคบอกรักที่ว่า“ใครเล่าจักรัก โดยมิรักเสียแต่แรกเห็น”
ชั้นหนังสือขอลาไปด้วยกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) กวีคนสำคัญพระองค์หนึ่งในสมัยอยุธยา ซึ่งไปเจอโดยบังเอิญตอนหาข้อมูลเรื่องดอกลำดวน
ร้อยกรองภาษาไทย งดงามเสมอลำดวนเจ้าเคยร้อย กรองเป็นสร้อยลำดวนถวายเรียมชมดมสบาย พี่เอาสร้อยห้อยคอนางลำดวนปลิดกิ่งก้าน สนสายกรองสร้อยลำดวนถวาย ค่ำเช้าชูชมดมกลิ่นสบาย ใจพี่เอาสร้อยห้อยคอเจ้า แนบหน้าชมโฉม